วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

JavaBean ใน NetBeans

จากตอนที่แล้วได้สร้าง JavaBean ใน BeanBox กันมาแล้ว
ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายสำหรับผู้เริ่มต้น

วันนี้ขอนำเสนอการใช้ JavaBean อีกทางหนึ่งซึ่่งจะเพิ่มความซับซ้อนขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
แต่ก็ไม่ยากเกินไปสำหรับผู้เริ่มต้น นั่นคือ JavaBean ใน NetBeans ...

อันดับแรกให้เปิดโปรแกรม NetBeans ขึ้นมาก่อนนะคะ..
จากนั้น ให้ New Project ขึ้นมาใหม่
ในช่อง Project Name : ให้ตั้งชื่อว่า Clockbean

คลิก Finish เพื่อสร้าง Project ชื่อ Clockbean

จากนั้นเราจะทำการสร้าง JFrame Form โดยให้คลิกเม้าส์ขวาที่ Clockbean
จากนั้นลากไปที่ New ให้เลือก JFrame Form...

จะปรากฎหน้าต่าง New JFrame Form
ในช่อง Class Name : ให้ตั้งชื่อว่า Clockframe

คลิก Finish เพื่อสร้าง JFrame Form จะได้ Clockframe.java ที่ tab Project ดังนี้...

ในหน้าต่าง Work Area ในโหมด Design จะได้ Frame ดังนี้

จากนั้นเราจะ import ไฟล์ นามสกุล .jar เข้ามา นั่นคือ Counter.jar ในหัวข้อที่แล้ว
ย้อนกลับไปศึกษาได้ที่ http://component-based-tutorial.blogspot.com/2011/06/javabean1.html


เมื่อเตรียมไฟล์ Counter.jar เรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนนี้จะทำการ import Counter.jar เข้ามาใน Frame ของเรา

อันดับแรกให้อยู่ที่หน้า Work Area ในโหมด Design ให้สังเกตหน้าต่างทางด้านขวา
จะเห็น Palatte และ Properties

ในหน้าต่าง Palatte ให้เลื่อน Scroll Bar หาหัวข้อ Beans
จากนั้นคลิกขวาที่ Choose Bean เลือก Palatte Manager..


จะได้หน้าต่าง Palatte Manager ให้เลือก Beans


คลิก Add from JAR... จะได้หน้าต่าง Install Component to Palatte


ไปที่ Directory ที่ได้สร้าง file Counter.jar ไว้
จากนั้น คลิกเลือก Counter.jarและคลิก Next จะได้ Counter.jar อยู่ใน List


คลิกเลือก Counter จากนั้นคลิก Next > จะไป Step ที่ 3 ซึ่งให้เราเลือกว่า
จะเลือก file.jar นี้ไว้ที่หมวดไหน ให้เลือก Beans

จากนั้นคลิก Finish และหน้าต่าง Palatte Manager ยังค้างอยู่ให้คลิก Close ปิดไป
เราจะได้ Clock ที่ได้ import เข้ามาอยู่ในหมวด Beans แล้ว


และสิ่งที่เราต้องมีต่อไปคือ TickTock.jar เพื่อจะนำมาเชื่อมกับ Counter.jar ที่เราได้ import เข้ามา

ซึ่งในตอนนี้เราจะมีไฟล์ TickTock.java ซึ่งอยู่ใน Directory ที่เราได้ดาวน์โหลด BDK มา
ให้ตรวจดูว่ามีไฟล์หรือไม่ที่
bdk1_1>beans>demo>sunw>demo>misc>TickTock.java

จากนั้นให้ทำการสร้างไฟล์ TickTock.jar จากไฟล์ TickTock.java ตามวิธีที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น( ศึกษาวิธีสร้างไฟล์ .jar จาก ไฟล์ .java คลิกที่ลิ้งค์นี้ http://component-based-tutorial.blogspot.com/2011/06/javabean1.html )


จากนั้นเมื่อได้ไฟล์ TickTock.jar เรียบร้อยแล้วก็จะนำ TickTock.jar import เข้ามาใน Netbeans ซึ่งสามารถใช้วิธีเดียวกับการ import Counter.jar เข้ามาใน Netbeans ซึ่งได้กล่าวไปแล้วข้างต้น



ในตอนต่อไปเราจะทำการเชื่อม TickTock.jar กับ Counter.jar และสร้างปุ่ม Start , Stop , Reset เพื่อควบคุม Counter กัน ติดตามตอนต่อไปได้เลยค่ะ ...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น