วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

JavaBean(1)

JavaBean คืออะไร แล้วจะใช้มันได้อย่างไร แล้วถ้าสร้างหละจะทำอย่างไร วันนี้เรามาหาคำตอบกัน กับ JavaBean!!!

JavaBean คือ คือการนำคอมโพเนนต์ต่างๆที่ถูกสร้างเอาไว้แล้วด้วยภาษาจาวาเอง กลับมาใช้หรือประยุกต์เข้ากับโปรแกรมอื่นๆ ที่สร้างขึ้นมาใหม่โดยที่สามารถสร้างหรือเพิ่มคอมโพเนนต์เหล่านั้นเข้าไปได้ด้วย (Buider Tool) หรือเขียนโค้ดเองเหมือนกับการเขียนโปรแกรมจาวาปกติ ซึ่งเราสามารถเขียน JavaBean ได้จากโปรแกรมที่มีชื่อว่า BeanBox ซึ่งเป็นโปรแกรม Bean Development Tool Kit(BDK) โดยหลักของการเขียน JavaBean ก็มีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อดังนี้
1.) JavaBean จะต้องมี Constructor method ที่ไม่มี argument(Zero-argument) ซึ่งโดยค่าปกติของ java จะทำการใส่ Zero-argument ให้อัตโนมัติ ผู้เขียนจึงไม่จำเป็นต้องใส่ constructor ก็ได้
2.) ควรจะประกาศตัวแปรให้เป็นชนิด private เพื่อไม่ให้ใครสามารถเข้าถึง และเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปลงได้ ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงค่า หรือจะเรียกค่าตัวแปรมาใช้ จะต้องทำผ่าน method
3.) เมื่อตัวแปรเป็นชนิด private แล้วก็ย่อมจะต้องมี method ไว้ใช้ในการเปลี่ยนแปลงค่า หรือเรียกค่าตัวแปรออกมาใช้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงค่าจะทำผ่าน method set(ตามด้วยชื่อตัวแปร) และการเรียกค่าตัวแปรออกมาใช้จะทำผ่าน method get(ตามด้วยชื่อตัวแปร) ชื่อที่ตามหลัง set และ get จะเป็นชื่อที่แสดงไว้ให้ผู้ใช้เรียกใช้ และมีข้อยกเว้นสำหรับ method get ในตัวแปรชนิด boolean สามารถใช้คำว่า is แทน get ได้

เมื่อเราได้รู้หลักของ JavaBean กันไปแล้วต่อมา เรามาหัดสร้าง และลองใช้ Buider Tool อย่าง BeanBox กันดีกว่า

ก่อนอื่นเรามาสร้าง JavaBean เราจะต้องมีโปรแกรมที่เขียนตามหลัก JavaBaen กันก่อน ซึ่งเมื่อเรามีแล้วเราก็จะทำการสร้างดังต่อไปนี้

เราจะต้องสร้าง Mainfest file (.mf) ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้
Main-Class: ชื่อ Package.ชื่อ Class
Name: ชื่อไฟล์ Class
Java-Bean: True
เว้นไว้ 1 บรรทัด

ตัวอย่าง
Main-Class: counter.Counter
Name: counter/Counter.class
Java-Bean: True

จากนั้นก็ทำการเซฟเป็นนามสกุล mf เช่น Counter.mf

จากนั้นเข้า command prompt เพื่อรันไฟล์โปรแกรม โดยจะใช้คำสั่ง javac -d . ชื่อไฟล์.java ตัวอย่างเช่น javac -d . Counter.java ซึ่งเราจะได้ไฟลเดอร์ชื่อ counter และมีไฟล์ Counter.class อยู่ข้างใน




ต่อมาเราก็ทำการสร้างไฟล์ .jar โดยใช้คำสั่ง jar -cfm ชื่อไฟล์ที่จะสร้าง.jar ชื่่อไฟล์ Mainfest.mf ที่อยู่ของไฟล์.class ตัวอย่าง เช่น jar -cfm Counter.jar Counter.mf .\counter\*.*





เพียงเท่านี้เราก็จะได้ไฟล์.jar นำไปใช้ใน BeanBox แล้ว
ตอนหน้าเรามาลองจะมาลองใช้ BeanBox กัน ^^


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น